top of page

  โครงการความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กับองค์กร The Ocean Cleanup เพื่อศึกษาวิจัยและเก็บรวบรวมขยะพลาสติก

ในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยติดตั้งเครื่องอินเตอร์เซพเตอร์ (เรือดักเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์)

" วิสัยทัศน์ร่วมกัน พันธกิจร่วมใจ "

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครและ ดิ โอเชียน คลีนอัพ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีเป้าหมายเดียวกันในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในแหล่งน้ำ

ที่เป็นทรัพยากรสำคัญของโลก ประเทศไทยตระหนักดีว่าขยะพลาสติกได้กลายเป็นปัญหา ที่น่ากังวลในระดับโลก และได้พยายามอย่างมากในการแก้ปัญหามลภาวะพลาสติก ปัจจุบันนี้ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศอันดับที่ 10 ที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้ดีที่สุดตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผนึกกำลังร่วมกันพิทักษ์แหล่งน้ำ หยุดการรั่วไหลของขยะเกิดใหม่ในแม่น้ำเพื่อไม่ให้ไหลสู่มหาสมุทร

DMCR

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คอนเท้น 11 (33).png

ดิ โอเชียน คลีนอัพ

องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ประเทศเนเธอร์แลนด์

BMA

สำนักสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพมหานคร

" เป้าหมายโครงการ "

 สำหรับประเทศไทย แม่น้ำเจ้าพระยาถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งใน 15 แม่น้ำสายสำคัญจากทั่วโลก ที่ทั้งสามองค์กรจะร่วมมือกันในการใช้เทคโนโลยี

สมัยใหม่เพื่อทำความสะอาด และลดปัญหามลพิษจากขยะ ด้วยวิธีการสกัดกั้น และดักจับขยะพลาสติกจากแม่น้ำ ไม่ให้รั่วไหลลงสู่มหาสมุทร

โดยใช้นวัตกรรมเรือ Interceptor ของ ดิ โอเชียน คลีนอัพ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการปฏิบัติงานเพื่อดักจับขยะบนผิวน้ำ

ถือเป็นโซลูชั่นตัวแรกที่สามารถพัฒนาสู่การใช้งานจริงในวงกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกไหลจากแม่น้ำเข้าสู่มหาสมุทร

" ลักษณะทั่วไปของเรือดักจับขยะในแม่น้ำ
Interceptor 019 "

ความยาวตัวเรือ     22.39 เมตร
ความกว้างตัวเรือ   08.78 เมตร
ความสูงตัวเรือ      05.58 เมตร
ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 100 %

Interceptor เรือดักจับขยะในแม่น้ำ เทคโนโลยีชั้นสูงที่ช่วยดักจับขยะในแหล่งน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถดักเก็บขยะจากแม่น้ำได้มากที่สุดถึง 100,000 ชิ้นต่อวัน ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ที่ถูกชาร์จไฟด้วยแสงอาทิตย์ ปราศจากเสียงและกลิ่นรบกวน

จึงเป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีระบบคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน 

Interceptor เรือดักจับขยะในแม่น้ำนี้ ใช้การไหลเวียนของแม่น้ำตามธรรมชาติในการดักจับขยะพลาสติก

โดยมีทุ่นลอยน้ำที่ช่วยปัดให้ขยะไหลตามทิศทางที่กำหนดเพื่อเข้าสู่ตัวเครื่อง

"  เทคโนโลยีพิเศษใน Interceptor 019 "

6.png

" ทุ่นลอยน้ำ "

ที่ช่วยปัดให้ขยะ

ไหลตามทิศทางที่กำหนด

เพื่อเข้าสู่ตัวเครื่อง

7.png

" สายพาน "

ที่ช่วยลำเลียงขยะ 
เข้าสู่กระบวนการคัดแยก
ลงในถังขนาดใหญ่

4.png

" ถังขยะ "

ที่สามารถถอดได้

เมื่อปริมาณขยะเต็ม

มีขนาดใหญ่ถึง 6 ถัง

ใส่ขยะได้มาถึง 7 ตัน
 

5.png

" พลังงานสะอาด "

ทำงานด้วยพลังงาน

แสงอาทิตย์ 100 %
ทำงานได้ทั้งเวลากลางวัน

และกลางคืน ปราศจากเสียงและกลิ่นรบกวน

" การทำงานของ Interceptor 019 "

" ตำแหน่งที่ Interceptor 019 ปฎิบัติงาน "

20240315_091055.jpg

สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ
6 รอบ พระชนมพรรษา

ถ. พระรามที่ 3 
แขวงบางโคล่ 
เขตบางคอแหลม 
กรุงเทพมหานคร 

Holding Phones

ตัวแทนโครงการ : บริษัท อีโค มารีน จำกัด
128 หมู่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์,
จ.สมุทรปราการ 10290
02-815-2060 Ext.1900-1905
info@ecomarine.co.th
https://www.ecomarine.co.th

ติดต่อ - สอบถาม ข้อมูลได้ที่

eco%25202021_edited_edited.jpg
bottom of page